โรคปลาทอง
การเลี้ยงปลาทองให้มีคุณภาพที่ดีจำเป็นต้องมีการดูแลเอาใจใส่ที่ดี แต่ในบางครั้งเมื่อสภาพอากาศ
เกิดการเปลี่ยนไปโดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน ซึ่งพบว่าต้นฤดูฝนปลาที่เลี้ยงไว้ที่กลางแจ้งมักจะเกิดการ
ล้มป่วยและตายโดยไม่รู้สาเหตุ ทั้งนี้เป็นเพราะก่อนฝนตกอากาศจะร้อนอบอ้าว แต่พอฝนตกลงมา
อากาศก็เย็นลงอย่างรวดเร็ว ประกอบกับคุณสมบัติของน้ำก็เปลี่ยนไปอีกด้วยทำให้ปลาปรับสภาพไม่ทัน
จึงมักเกิดการล้มป่วย
สาเหตุของโรค
+ น้ำ ถ้าปล่อยให้น้ำเสียโดยไม่เปลี่ยนถ่ายน้ำ อาหารตกค้างมาก ค่าความถ่วงจำเพาะของน้ำมากกว่า 1
นั้นหมายความว่า มีสารละลายปนอยู่ ทำให้ปลาหายใจลำบากอาจเกิดโรคได้ เนื่องจาก pH ของน้ำ
เปลี่ยนไป น้ำฝนที่ตกลงมาใหม่ก็เป็นสาเหตุทำให้ pH เปลี่ยนไป เช่นกัน
+ อุณหภูมิและระดับออกซิเจนในน้ำ ถ้าเกิดการเปลี่ยนไปอุณหภูมิของน้ำที่ปลาอาศัยอยู่อย่างรวดเร็ว
(เกิดความแตกต่างของอุณหภูมิเกิน 5 c ในเวลาสั้น) ปริมาณออกซิเจนในน้ำลดลง ส่งผล
ให้ปลาอ่อนเพลียภูมิคุ้มกันของปลาลดลง
+ ก๊าซต่าง ๆ เกิดจากการหมักหมมของอาหารและสิ่งที่ปลาขับถ่ายออกมา เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
และแอมโมเนียที่เป็นพิษต่อปลา
+ พาหะนำเชื้อโรค ลูกน้ำ หนอนแดง ไรแดง อาจนำเชื้อโรคและปรสิตบางตัวมาสู่ปลา เช่น หนอนสมอ
โรคจุดขาว
+ การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ร่วมกับปลาที่เป็นโรค จะเป็นสาเหตุให้เกิดโรคได้ ควรมีบ่อเฉพาะสำหรับ
รักษาโรคและแยกอุปกรณ์ไว้ต่างหาก
วิธีการสังเกตปลาป่วย
ในขณะที่ปลาป่วย ปลาจะมีลักษณะและอาการว่ายน้ำผิดปกติ ซึ่งสามารถสังเกตได้ดังนี้
+ ลักษณะการเคลื่อนไหวของปลาที่เป็นโรคจะผิดปกติ มีอาการเซื่องซึม อาจว่ายน้ำเสียดสีหรือถู
กับก้นบ่อว่ายมาออกันที่ผิวน้ำ โดยเฉพาะปลาที่มีปรสิตเกาะ
+ ปลาที่เป็นโรค ขณะว่ายน้ำจะไม่กางครีบออกครีบอาจจะกร่อนแหว่งหายไป
+ เหงือกบวมแดงเห็นชัดเจน เนื่องจากหายใจไม่สะดวก พยายามเปิดปิดเหงือกมากที่สุด
เหงือกอาจบวมจนถึงกระดูกเหงือก
+ มีเลือกออกตามเกล็ด หรือมีบาดแผลตามตัว
+ ปลาที่เป็นโรคจะมีสีซีดกว่าปกติ
+ ปลาขับเมือกออกมามากผิดปกติ น้ำมีสีขาวขุ่นภาชนะที่ใช้เลี้ยงปลามีเมือกจับเต็มไปหมด
+ เกล็ดพองลุกชัน ท้องโต ทั้ง ๆ ที่ปลาไม่มีไข่เรียกว่าท้องมาร
+ ปลาผอมไม่ค่อยกินอาหาร โดยปกติปลาทองจะเป็นปลาที่กินอาหารเก่งและกินเกือบ
ตลอดเวลาไม่ค่อยหยุดถ้าปลาไม่ยอมกินอาหารแสดงว่าปลาอาจป่วย แต่ถ้าช่วงอากาศหนาว
หรืออากาศค่อนข้างเย็น ปลาจะไม่กินอาหารถือว่าเป็นเรื่องปกติ
+ ปลาเสียการทรงตัวเกิดจากถุงลมผิดปกติ อาจว่ายน้ำหมุนควงหรือว่ายน้ำแบบบังคับทิศทางไม่ได้


การเลี้ยงปลาทอง-การฟักไข่
      ไข่ที่ติดกับSeaweedหรือเชือกฟางจะมีสีเหลืองใส ไข่ที่ได้รับการผสมจะฟักเป็นตัวภายใน 2-3 day
ขึ้นกับอุณหภูมิน้ำ ส่วนไข่ปลาที่ไม่ได้รับการผสมน้ำเชื้อจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีขาวขุ่น ไข่ที่เริ่มฟักเป็นตัว
จะมีจุดดำ (Eye spot) ปรากฏขึ้น จากนั้นส่วนหางก็จะค่อย ๆ เจริญขึ้นมาจนสามารถมองเห็นการ
เคลื่อนไหวได้ ลูกปลาแรกฟักมีขนาดเล็กตัวใสเกาะติดกับรังไข่ หลังจากฟักเป็นตัวแล้วประมาณ 2-3 day
ลูกปลาจึงจะว่ายออกจากรังไข่และว่ายน้ำเป็นอิสระลูกปลาที่เกิดใหม่จะมีสีน้ำตาลคล้ำหรือสีดำ
หลังจากนั้นสีทองจะเริ่มพัฒนาขึ้น ตั้งแต่ 2 สัปดาห์ขึ้นไป การเลี้ยงปลาทอง-การอนุบาลลูกปลาจะอนุบาลในบ่อเดิมหรือ
นำมาขยายบ่อเพื่ออนุบาลต่อไปก็ได้ ขณะที่ทำการดูดเปลี่ยนถ่ายน้ำ ควรใช้กระชอนตาถี่หรือผ้าบาง ๆ
มารองรับกันลูกปลาไหลไปตามน้ำ

การเลี้ยงปลาทอง-การอนุบาลลูกปลา
       บ่อที่ใช้อนุบาลลูกปลาไม่ควรเป็นบ่อขนาดใหญ่มาก เพราะจะทำให้การดูแลและการจัดการลำบาก
โดยทั่วไปการเลี้ยงปลาทอง-การอนุบาลลูกปลาอาจใช้บ่อกลม ซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 80 cm หรืออาจจะ
ใช้บ่อสี่เหลี่ยมขนาดประมาณ 1 ตารางเมตรก็ได้
       ในช่วงที่ลูกปลาฟักตัวออกมาระยะ 2-3 dayแรก ยังไม่จำเป็นต้องให้อาหาร เนื่องจากลูกปลามีถุง
อาหาร (Yolk sac) อยู่ซึ่งลูกปลาจะดูดซึมอาหารจากถุงอาหารนี้ หลังจาก 3 dayแล้วจึงเริ่มให้อาหาร
โดยให้ลูกไรแดงขนาดเล็กที่ผ่านการกรองด้วยตาข่ายหรือจะใช้ไข่แดงต้มสุกละลายน้ำแล้วหยดให้ปลา
กิน dayละ 3-4 ครั้ง ให้ประมาณ 2-3 day การให้ไข่แดงต้องระมัดระวังปริมาณการให้เพราะไข่จะทำ
ให้น้ำเสียเร็วควรให้แต่น้อย ๆรอให้ปลากินหมดแล้วจึงให้เพิ่ม   และถ้าปลากินเหลือควรดูดเศษอาหาร
ออกโดยใช้สายยางขนาดเล็กดูดออกในกรณีที่ต้องใช้น้ำประปาที่มีต้นทุนสูงควรเปลี่ยนถ่ายน้ำแต่น้อย ๆ
และบ่อยครั้งขึ้น เพื่อป้องกันการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของน้ำทำให้ลูกปลาตายได้ และใช้กระชอนตาถี่ ๆ
มาวางไว้เพื่อรองรับน้ำที่ถูกดูดออกมาจากบ่อเลี้ยงปลาเพราะอาจจะมีลูกปลาถูกดูดติดออกมาได้ อัตรา
การเปลี่ยนถ่ายน้ำในแต่ละครั้งไม่ควรเกิน 20-25% ของปริมาณน้ำในบ่อ
       บางฟาร์มที่ใช้น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติซึ่งมีต้นทุนต่ำอาจเปลี่ยนถ่ายน้ำตลอดเวลา    โดยใช้ระบบ
น้ำหมุนเวียน หลังจากที่ให้ไข่แดงหรือลูกไรแดงแล้ว 3 day ควรเปลี่ยนเป็นไรแดงขนาดใหญ่ขึ้น ลูกปลา
มีอายุ 15 dayจึงเริ่มให้อาหารสำเร็จรูป และอาหารสดที่มีขนาดใหญ่เสริม เช่น ลูกน้ำ ไส้เดือนน้ำ    ควร
ให้dayละ 3-4 ครั้ง เมื่ออนุบาลลูกปลาจนกระทั่งมีอายุ 2 สัปดาห์ควรคัดปลาที่พิการออกไปเป็นปลาเหยื่อ
และเลือกปลาที่มีลักษณะที่ดีไว้ โดยพิจารณาจากลักษณะรูปทรงของลำตัว และครีบต่าง ๆ   โดยเฉพาะ
ครีบหางและควรมีการคัดขนาดด้วย    เพราะลูกปลาที่มีขนาดเล็กจะแย่งอาหารไม่ทันลูกปลาที่มีขนาด
ใหญ่กว่าจึงควรคัดออกเพื่อนำมาแยกเลี้ยง
         สำหรับการเลี้ยงปลาทอง-การอนุบาลลูกปลาขนาดเล็กไม่ควรนำไปเลี้ยงในน้ำที่มีระดับความลึกมาก เพราะจะทำให้
ปลามีรูปร่างไม่สวยงาม และไม่เลี้ยงหนาแน่นเกินไป ควรเลี้ยงในอัตราส่วน 100 - 250 ตัว/ตารางเมตร
หลังจากที่อนุบาลลูกปลาประมาณ 1 เดือน ลูกปลาจะมีขนาด 2-3 cm อาจให้หนอนแดง ไส้เดือนน้ำ
หรือหนอนขี้หมูขาวด้วยก็ได้แต่ต้องนำมาต้มก่อนเพื่อป้องกันการติดเชื้อของปลาหรือจะให้อาหารสำเร็จรูป
เป็นอาหารปลาดุกเล็ก หรืออาหารผสมระหว่างอาหารปลาดุเล็กกับไข่ตุ๋นก็ได้

การเลี้ยงปลาทองและการเพาะพันธุ์ปลาทอง
      ในช่วงหน้าฝนเป็นช่วงเวลาที่ปลาทองจะผสมพันธุ์วางไข่ก่อนหรือหลังระยะดังกล่าวก็อาจเพาะพันธุ์
ได้บ้างแต่เป็นส่วนน้อยปลาทองจะถึงวัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุ 4-6 month แต่ช่วงที่เหมาะสมคืออาย
ุ 7-8 month และจะวางไข่ไปเรื่อย ๆ จนอายุ 6-7 year แต่เนื่องจากเมืองไทยเป็นเมืองร้อนปลาสามารถ
วางไข่ได้เป็นระยะเวลาหลายmonthใน 1 year จึงทำให้อายุใช้งานของพ่อแม่พันธุ์น้อยลงคือประมาณ 2 year
ผู้เลี้ยงก็จะต้องหาพ่อแม่พันธุ์ใหม่
       การเลี้ยงปลาทองและการเพาะพันธุ์ปลาทองอาจเพาะพันธุ์ได้ในตู้กระจก บ่อซีเมนต์กลมขนาดเล็กเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่
80 cm หรือใช้บ่อสี่เหลี่ยมขนาด 1 ตารางเมตรขึ้นไป หลังจากทำความสะอาดบ่อหรือภาชนะ
เรียบร้อยแล้วให้เติมน้ำสะอาดที่ปราศจากคลอรีน (อุณหภูมิของน้ำควรอยู่ในช่วง 25 - 28  c)
ให้ระดับน้ำสูงประมาณ 20-30 cm และควรใส่สาหร่ายหรือผักตบชวาโดยนำมาแช่ด่างทับทิม
ก่อนหรือใช้เชือกฟาง นำเชือกฟางมามัดแล้วฉีกเป็นเส้นฝอยใส่ลงในบ่อเพื่อให้ไข่เกาะ เพราะไข่ของปลา
ทองเป็นประเภทไข่ติด หรืออาจจะเพาะในกะละมัง ซึ่งวิธีนี้ไม่ต้องใส่เชือกฟางให้ไข่เกาะ เพราะไข่จะ
เกาะติดกับกะละมังที่ใช้เพาะฟัก
การเลี้ยงปลาทองและการเพาะพันธุ์ปลาทองสามารถเพาะพันธุ์โดยวิธีเลียนแบบธรรมชาติ หรือโดยวิธีผสมเทียม ดังนี้

การเพาะพันธุ์โดยวิธีเลียนแบบธรรมชาติ เป็นวิธีการเลี้ยงปลาทองและการเพาะพันธุ์ปลาทองแบบง่ายและประหยัด บ่อหรือ
ภาชนะที่มีขนาดประมาณ 1 ตารางเมตร เป็นขนาดที่เหมาะสมที่สุดและควรปล่อยพ่อแม่ปลาเพียง 4-6
ตัว/บ่อ โดยนำพ่อแม่พันธุ์ที่มีความสมบูรณ์พร้อมผสมพันธุ์ที่คัดไว้เรียบร้อยแล้วมาใส่ในบ่อเพาะ ในอัตรา
ส่วนตัวผู้ : ตัวเมีย เท่ากับ 1 : 1 หรือ 2 : 1 ขึ้นกับปริมาณน้ำเชื้อของตัวผู้และความสมบูรณ์เพศของแม่พันธุ์
ปลาตัวผู้จะเริ่มไล่ปลาตัวเมียโดยใช้ปากดุนที่ท้องปลาตัวเมียเพื่อกระตุ้นให้วางไข่ ตัวเมียปล่อยไข่เป็นระยะ ๆ
ขณะเดียวกันตัวผู้จะปล่อยน้ำเชื้อเข้าผสมกับไข่ ไข่ก็จะกระจายติดกับสาหร่าย ผักตบชวาหรือเชือกฟางที่อยู่
ไว้ในบ่อ
       เนื่องจากไข่มีลักษณะเป็นเมือกเหนียวช่วยในการยึดเกาะได้ระยะเวลาในการผสมพันธุ์ อาจใช้เวลาถึง
3ชั่วโมง ปลาจึงวางไข่หมด แม่ปลาวางไข่ครั้งละ 500-5000 ฟอง โดยปริมาณไข่จะขึ้นกับขนาดของแม่
ปลา ปลาตัวเล็กปริมาณไข่ก็จะน้อย ภายหลังจากที่ปลาผสมพันธุ์กันแล้ว จะสังเกตเห็นน้ำในบ่อเพาะพันธุ์มี
ลักษณะเป็นฟองคล้ายมีเมือกผสมอยู่ในน้ำหรือสามารถตรวจสอบอย่างง่าย ๆก็คือ หลังจากที่ใส่รังเทียม
ในตอนเย็นจะสามารถตรวจสอบการวางไข่ในตอนเช้า หลังจากที่แม่ปลาวางไข่แล้ว ควรแยกพ่อแม่ออกไป
เลี้ยงในบ่ออื่น หรือจะเก็บรังเทียมไปฟักในบ่ออื่นก็ได้ แต่วิธีนี้ไข่อาจติดอยู่บริเวณขอบหรือพื้นก้นบ่อยากแก่
การรวบรวม โดยปกติแม่ปลาทองจะวางไข่มากในช่วงmonth เมษายน - ตุลาคม
        หลังจากปลาผสมพันธุ์แล้ว พ่อแม่ปลาจะไม่สนใจกับไข่ปลา และบางครั้งอาจกินไข่ด้วย ดังนั้นจึงจำเป็น
ต้องแยกพ่อแม่ปลาออกทันที
การเพาะพันธุ์โดยวิธีผสมเทียม
       การเพาะพันธุ์โดยวิธีผสมเทียมจะทำให้อัตราการผสมไข่และน้ำเชื้อสูงมากมีอัตราการฟักไข่สูงกว่าการ
เพาะพันธุ์โดยวิธีธรรมชาติแต่ขั้นตอนจะยุ่งยากกว่าหลังจากที่เตรียมอ่างเพาะหรือบ่อเพาะปลาแล้วให้ตรวจ
ความพร้อมของแม่ปลา สำหรับแม่ปลาจะต้องมีท้องนิ่มพร้อมที่จะวางไข่การผสมพันธุ์โดยวิธีนี้ควรทำตอน
เช้ามืดใกล้สว่าง ซึ่งเป็นเวลาที่ปลาชอบผสมพันธุ์กันเอง โดยใช้ปลาตัวผู้ : ปลาตัวเมียในอัตราส่วน 1 : 1 หรือ
2 : 1 ตัว เพื่อให้น้ำเชื้อของปลาตัวผู้มีปริมาณเพียงพอกับจำนวนไข่ของปลาตัวเมีย รีดไข่จากแม่ปลาลงใน
กะละมังที่มีน้ำสะอาด แล้วรีดน้ำเชื้อจากปลาตัวผู้ 1-2 ตัวลงผสมพร้อม ๆ กันขั้นตอนการรีดต้องทำอย่าง
รวดเร็วและนุ่มนวล เพราะปลาอาจเกิดบอบช้ำหรือถึงตายได้ถ้าปลาอยู่ในมือนาน จากนั้นคลุกเคล้าไข่กับน้ำ
เชื้อให้เข้ากัน เพื่อให้น้ำเชื้อของปลาตัวผู้ไปผสมกับไข่ของปลาตัวเมียได้อย่างทั่วถึง แล้วล้างไข่ด้วยน้ำสะอาด
1-2 ครั้ง วิธีนี้จะช่วยให้อัตราการฟักเป็นตัวของไข่ปลามีมากกว่าการปล่อยให้ปลาผสมพันธุ์กันเองตามวิธี
ธรรมชาติ เมื่อไข่ถูกน้ำจะดูดซึมน้ำเข้าภายในเซลล์ (Cell) และมีสารเหนียว ๆ ทำให้ไข่ติดกับกะละมัง ถ้าแม่
ปลา 1 ตัวที่มีปริมาณไข่มาก สามารถรีดไข่ได้ 2-3 กะละมัง (กะละมังขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12 นิ้ว) ไข่ที่
ได้รับการผสมน้ำเชื้อจะมีลักษณะใสวาว ๆ สีเหลือง ส่วนไข่ที่ไม่ได้รับการผสม มีสีขาวขุ่น
       นำกะลังมังที่มีไข่ปลาติดอยู่ ไปใส่ในบ่อฟักที่มีระดับน้ำลึกประมาณ 30 cm โดยวางกะละมังให้
จมน้ำ ให้ออกซิเจนเบา ๆ เป็นจุด ๆ ตลอดเวลา อุณหภูมิของน้ำภายในอ่างฟักไข่อยู่ในช่วง 27 - 28  c การควบคุมอุณหภูมิน้ำในช่วงที่ไข่ฟักตัวเป็นสิ่งสำคัญมาก เนื่องจากในช่วงที่ไข่ปลากำลังฟักตัวจะมีภูมิต้าน
ทานน้อยมาก ถ้าหากอุณหภูมิของน้ำเกิดการเปลี่ยนแปลงมากอาจทำให้ไข่ปลาเสียได้ ในช่วงฤดูหนาวที่อุณหภูมิ
ลดลงมากอาจใช้ฮีทเตอร์ เพื่อช่วยในการควบคุมอุณหภูมิน้ำ

การเตรียมปลาเพื่อการเพาะพันธุ์
การเลี้ยงปลาทองเพื่อให้ได้ลูกปลาที่มีคุณภาพดีและปริมาณมากจำเป็นต้องมีการคัดเลือกพ่อแม่
พันธุ์ที่มีความสมบูรณ์ซึ่งมีเทคนิคในการเตรียมพ่อแม่พันธุ์ปลา ดังนี้
การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ การเลี้ยงปลาทองจะประสบผลสำเร็จต่อเมื่อคุณภาพดีของลูกปลามีลักษณะ
ตรงตามที่ตลาดต้องการ การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์จึงนับเป็นปัจจัยสำคัญมากในการเพาะเลี้ยงปลาทอง
เพราะลูกปลาจะมีคุณภาพดีดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับลักษณะที่พ่อแม่พันธุ์ถ่ายทอดมายังลูกหลานซึ่งมีหลักเกณฑ์
ในการพิจารณาคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ ดังนี้
+ ไม่ควรเลือกพ่อแม่พันธุ์ครอกเดียวกันมาทำการผสมพันธุ์ เพราะอาจได้ลุกปลาที่มีลักษณะด้อย โตช้า
อ่อนแอหรือมีความผิดปกติ เนื่องจากการผสมปลาในครอกเดียวกัน เป็นการผสมเลือดชิด (Inbreeding)
+ ควรเลือกพ่อแม่พันธุ์ที่ยังมีอายุไม่มากนัก (อายุไม่เกิน 2 ปี) เพราะปลารุ่นมีความปราดเปรียว วางไข่
ได้ครั้งละมาก ๆ น้ำเชื้อมีความแข็งแรงสมบูรณ์ พ่อแม่พันธุ์ต้องอยู่ในสภาพพร้อมผสมพันธุ์ได้จริง
+ เลือกพ่อแม่พันธุ์ที่มีลักษณะดี ไม่พิการ มีสีสันเข้ม เด่นชัด มีความแข็งแรงปราดเปรียว และมีขนาด
ใหญ่ปานกลางเป็นปลาที่เลี้ยงง่ายเติบโตเร็ว
การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลา หลังจากที่มีการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์แล้ว การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ก็นับเป็นสิ่ง
สำคัญในการเพาะพันธุ์ปลา หากพ่อแม่พันธุ์มีความสมบูรณ์ทางเพศเต็มที่แล้ว จะสามารถเพาะพันธุ์
ได้โดยง่าย ปลาจะผสมพันธุ์และวางไข่ได้เอง ตามธรรมชาติ ปลาทองที่จะนำมาเป็นพ่อแม่พันธุ์ควร
มีอายุประมาณ 5-6 เดือนขึ้นไป ถ้าอายุน้อยจะทำให้ลูกปลาที่ได้พิการเป็นส่วนมาก การเลี้ยงปลาทอง
เพื่อให้เป็นพ่อแม่พันธุ์สามารถเลี้ยงได้ทั้งในบ่อซีเมนต์ บ่อดิน ตู้กระจก อ่างปลา ฯลฯ ที่มีระดับความ
ลึกพอประมาณ (20-40 เซนติเมตร) ถ้าพ่อแม่พันธุ์ปลามีขนาด 3-4 นิ้ว ปล่อยตารางเมตรละ 4-6 ตัว
ยกเว้นพ่อแม่ปลาทองบางพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่กว่าปกติ จำเป็นต้องเลี้ยงในบ่อที่ใหญ่ขึ้นด้วย กรณีที่ม
ีการเลี้ยงในบ่อที่มีการแยกของเสียและตะกอนออกไปตลอดเวลา ความหนาแน่นอาจเพิ่มเป็น 10 - 20
ตัว (ขนาด 3-4 นิ้ว) / 1 ตารางเมตร
ทำเลที่เหมาะสมในการสร้างบ่อพ่อแม่พันธุ์ปลาทอง คือ บริเวณที่แสงแดดส่องได้บ้างในเวลา
เช้าหรือเย็น หากเป็นที่โล่งแจ้งต้องทำหลังคาหรือร่มเงาให้ส่องแสงลงได้เพียง 40-60%
บ่อที่ได้รับแสงแดดที่พอเหมาะจะสามารถควบคุมการเจริญเติบโตของตะไคร่น้ำและแพลงก์ตอนพืช
(Phytoplankton) ให้อยู่ในปริมาณที่พอดีทำให้น้ำในบ่อใสสะอาดอยู่เสมอ เหมาะกับความเป็นอยู่
ของปลาและจะช่วยให้ปลามีสีสันสวยขึ้นด้วย ในทางตรงข้ามหากแสงสว่างส่องมากเกินไป จะทำให้
ตะไคร่น้ำและแพลงก์ตอนพืช เจริญเร็วมากเกินต้องการ น้ำจะเขียวจัดและเป็นเหตุให้ออกซิเจนที่ละลาย
อยู่ในน้ำเปลี่ยนแปลงเร็วมากในรอบวัน ซึ่งเป็นอุปสรรค ต่อความสมบูรณ์ทางเพศของปลา นอกจากนี้
แสงแดดจะทำให้อุณหภูมิของน้ำเปลี่ยนแปลงเร็วเกินไปด้วย หากเลี้ยงปลาทองไว้ในบ้านแสงสว่างจาก
หลอดไฟฟ้า ที่ส่องลงในตู้โดยตรง สามารถใช้ทดแทนแสงแดดได้เช่นกัน แต่ความสมบูรณ์ทางเพศ
ของปลาจะไม่ดีเท่ากับเลี้ยงไว้นอกบ้าน เนื่องจากปลาเลี้ยงในตู้จะตื่นตกใจง่ายทำให้การพัฒนาของไข่
ชะงักไป บ่อหรือภาชนะที่ใช้เลี้ยงพ่อแม่ปลาทองจำเป็นต้องมีวัสดุคลุมเพื่อป้องกันศัตรูปลา เช่น แมว
งู นก เป็นต้น ทั้งนี้เพราะปลาทองเป็นปลาที่ว่ายน้ำเชื่องช้า และชอบกินอาหารบริเวณผิวน้ำ เป็นการ
เปิดโอกาสให้ศัตรูทำร้ายได้ง่าย (วัสดุคลุมปิดควรมีความโปร่งแสงเพื่อให้แสงแดดส่องถึงและอากาศ
ถ่ายเทได้ ปกตินิยมทำด้วยตาข่ายพลาสติกกรองแสง)
น้ำที่ใช้เลี้ยงปลาทอง ควรเป็นน้ำที่สะอาด มีความเป็นกรด - ด่าง (pH) 6.8-7.5 มีปริมาณออกซิเจน
ละลายในน้ำไม่ต่ำกว่า 5 มิลลิกรัม/ลิตร จึงจำเป็นต้องมีระบบเพิ่มออกซิเจนในบ่อเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ตลอด
เวลา ความกระด้าง (Hardness) 75-100 มิลลิกรัม/ลิตร และความเป็นด่าง (Alkalinity)150 - 200
มิลลิกรัม/ลิตร
ระดับความลึกของน้ำที่เหมาะสมคือ 30-40 เซนติเมตร การเลี้ยงปลาทองในบ่อที่มีระดับน้ำสูงเกิน
ไปมักจะทำให้ปลาทองเสียการทรงตัวได้ง่าย โดยเฉพาะสายพันธุ์หัวสิงห์ ต้องมีการถ่ายเทน้ำบ่อยหรือ
ทุก ๆ วัน โดยดูดน้ำเก่าทิ้งไป 25% ของน้ำทั้งหมดแล้ว เติมน้ำใหม่ลงไปให้มีปริมาณเท่าเดิม ควรแยก
เลี้ยงปลาที่จะนำมาเป็นพ่อแม่พันธุ์ไว้คนละบ่อ เพื่อให้ปลามีความสมบูรณ์แข็งแรงจริง ๆ
ในช่วงที่ปลากำลังฟิตตัวเพื่อเตรียมผสมพันธุ์ไม่ควรให้อาหารมากเกินไปจะทำให้ปลาอ้วน และไม่
ควรเลี้ยงพ่อแม่ปลาทองจำนวนมาก ๆ ในบ่อเดียวกัน เนื่องจากปลาทองเกือบทุกพันธุ์เป็นปลาที่ค่อนข้าง
อ่อนแอ มีลักษณะลำตัว หัวและครีบบอบบางอาจฉีกขาดหรือเป็นแผลและเสียการทรงตัวได้ง่าย อีกทั้ง
ปลาทองเป็นปลาที่กินอาหารมากและรวดเร็ว หากเลี้ยงปลารวมกันเป็นจำนวนมากตัวที่กินอาหารช้ากว่า
จะแย่งอาหารไม่ทัน ทำให้มีการเจริญเติบโตและความสมบูรณ์ทางเพศช้า ไม่สามารถเป็นพ่อแม่พันธุ์ได้
ตามกำหนด และไม่ควรเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลาทองหลายสายพันธุ์ในบ่อเดียวกัน นอกจากอุปนิสัยที่แตกต่าง
กันจะทำให้เป็นอุปสรรคของความสมบูรณ์เพศแล้ว อาจเกิดการผสมข้ามพันธุ์โดยบังเอิญทำให้ได้ลูก
ปลาที่มีลักษณะที่ตลาดไม่ต้องการ
ตามปกติพ่อแม่พันธุ์ปลาทองสามารถผสมพันธุ์วางไข่ได้เกือบตลอดปี ยกเว้นในช่วงอุณหภูมิลดต่ำ
กว่าปกติอย่างมาก ซึ่งในระยะนี้ปลาจะกินอาหารน้อยลงทำให้ความสมบูรณ์ทางเพศลดลงและชะงัก
การผสมพันธุ์ หากสามารถควบคุมอุณหภูมิของน้ำได้โดยการใช้เครื่องเพิ่มอุณหภูมิในน้ำ (Heater)
โดยให้น้ำมีอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียสตลอดเวลา พ่อแม่พันธุ์ปลาทองก็จะสามารถวางไข่ได้
ตลอดทั้งปี สำหรับแม่ปลาตัวหนึ่ง ๆ นั้นจะสามารถวางไข่ได้ทุกระยะประมาณ 2-4 สัปดาห์/ครั้ง
การคัดเพศปลาทอง การสังเกตเพศปลานับเป็นสิ่งสำคัญในการเลี้ยงปลาทอง โดยปกติความ
แตกต่างระหว่างเพศของปลาทองจะเริ่มปรากฏให้เห็น เมื่อปลามีอายุประมาณ 2-4 เดือนขึ้นไปโดยจะ
สามารถสังเกตเห็นได้จากลักษณะภายนอก ซึ่งปลาทองตัวผู้และตัวเมียจะมีลักษณะที่แตกต่างกันอย่าง
เห็นได้ชัด ดังตารางและ ภาพที่ 38-40

foodสำหรับการเลี้ยงปลาทอง
foodธรรมชาติ ถึงแม้ปลาทองจะเป็นปลาที่กินได้ทั้งพืชและสัตว์เป็นfood (Omnivorous)
แต่ในธรรมชาติชอบกินfoodพวกลูกน้ำ ไรแดง (Moina) ไรสีน้ำตาล (Artemia) หนอนแดง และ
ไส้เดือนน้ำ foodมีชีวิตเหล่านี้มีคุณค่าทางfoodสูงทำให้ปลาโตเร็วมีความสมบูรณ์ทางเพศดี
เหมาะสมต่อการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลาทอง โดยให้วันละ 2-3 ครั้ง foodธรรมชาติจะให้ในสภาพ
ที่มีชีวิตหรือตายแล้วก็ได้ หากเป็นfoodที่ตายแล้วต้องให้ปริมาณที่พอเหมาะ ถ้ามีfoodเหลือต้อง
รีบดูดทิ้งทันที เนื่องจากfoodที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสียและเกิดโรคได้
ปัจจุบันเกษตรกรในจังหวัดนครปฐมและราชบุรีได้เพาะการเลี้ยงปลาทองโดยใช้หนอนแมลงวันหรือ
หนอนขี้หมูขาว ซึ่งเกิดในบริเวณเล้าหมู เรียกว่า หนอนขี้หมู นำมาเลี้ยงปลาใช้เป็นfoodสำหรับการเลี้ยงปลาทอง
ขนาดอายุ 1-2 เดือนขึ้นไป แต่ในการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลาควรระวังอย่าให้กินหนอนขี้หมูมาก เพราะ
จะทำให้ปลาอ้วนเกินไปซึ่งมีผลทำให้ปริมาณไข่ที่ออกน้อย
ข้อควรระวัง ก่อนนำหนอนขี้หมูมาเป็นfoodจะต้องนำมาล้างน้ำให้สะอาดและแช่ด่างทับทิมใน
อัตราส่วน 2-3 กรัม/น้ำ 1,000 ลิตร หรือต้มเพื่อป้องกันเชื้อโรค

ผลดีของfoodมีชีวิต
+ สัตว์น้ำจะมีเอนไซม์ช่วยย่อย ซึ่งสัตว์น้ำสามารถย่อยและกินได้ตลอดเวลา
+ foodมีชีวิตมีองค์ประกอบของกรดอะมิโนอิสระที่สำคัญ ซึ่งจะช่วยให้เกิดความเจริญเติบโต
+ มีสารสีต่าง ๆ (Pigment) ตามธรรมชาติ ช่วยในการป้องกันและสร้างภูมิต้านทานโรคซึ่งปลา
ไม่สามารถสังเคราะห์เองตามธรรมชาติ
+ มีราคาต่ำเมื่อเทียบกับfoodเม็ดสำเร็จรูป

foodสำเร็จรูป ได้แก่ foodเม็ดขนาดเล็กเป็นfoodที่เหมาะสำหรับการการเลี้ยงปลาทอง และ
ควรเลือกfoodที่มีเปอร์เซ็นต์โปรตีนสูงจะทำให้ปลาเจริญเติบโตดีและมีสีสันสวยงามโดยทั่วไป
ส่วนประกอบของfoodสำเร็จรูปควรประกอบด้วย โปรตีน 40เปอร์เซน คาร์โบไฮเดรต 44เปอร์เซน ไขมัน
10เปอร์เซน วิตามินและแร่ธาตุ 6เปอร์เซน
ส่วนประกอบของfoodที่มีปริมาณโปรตีนต่ำจะทำให้ปลาโตช้าหรือชะงักการเจริญเติบโต
และมีความสมบูรณ์ทางเพศน้อยหรือถ้าfoodมีปริมาณโปรตีนมากเกินไป ปลาก็จะขับถ่ายของเสีย
ออกมามากทำให้น้ำมีปริมาณแอมโมเนียสูงซึ่งเป็นพิษต่อปลา
: ลูกปลาขนาดเล็ก (ต่ำกว่า 1 นิ้ว) มีความต้องการโปรตีน ประมาณ 60 - 80เปอร์เซน เพื่อการเจริญเติบโต
: ปลาวัยรุ่นจะมีความต้องการโปรตีนประมาณ 40 - 60เปอร์เซน เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ทางเพศทำให้
ไข่พัฒนา
: ปลาเต็มวัยจะมีความต้องการโปรตีนประมาณ 30 - 40เปอร์เซน
การให้food ควรให้วันละ 3 -5 เปอร์เซน ของน้ำหนักปลา เช่น ปลาทั้งหมด น้ำหนัก 500 กรัม จะให้
foodเม็ดวันละ 15 - 25 กรัม โดยแบ่งให้เช้าเย็นหรือจะใช้foodผสมแทน โดยใช้foodที่มีส่วน
ผสมของปลาป่น รำละเอียด กากถั่วป่น วิตามินและแร่ธาตุซึ่งกำหนดให้มีปริมาณโปรตีนไม่ต่ำกว่า40เปอร์เซน
foodสำเร็จรูปมีข้อดีกว่าfoodธรรมชาติหลายประการได้แก่ สามารถควบคุมคุณภาพให้เป็นไป
ตามมาตรฐาน ความสม่ำเสมอและความคงทนในขณะที่ละลายน้ำ แต่foodสำเร็จรูปจะทำให้น้ำ
เสียง่าย ขนาดของfoodสำเร็จรูปสามารถปรับให้เข้ากับการเจริญเติบโตของลูกปลา เมื่อปลามี
ขนาดใหญ่สามารถ ปรับขนาดได้ ขนาด วัสดุfoodและกลิ่นของfoodเป็นปัจจัยสำคัญในการทำ
food

วิธีการให้foodสำเร็จรูปมีข้อควรพิจารณาในการให้food ดังนี้
+ ปริมาณfoodที่ให้ ไม่มากเกินไป ปลาควรกินหมดภายใน 15 นาที
+ ความถี่ หลักการให้foodควรจะให้ปริมาณน้อยแต่บ่อยครั้งทั้งนี้ควรให้วันละ 2 -3 ครั้งถ้า
เลี้ยงด้วยfoodสำเร็จรูปควรมีการเสริมfoodมีชีวิต
+ การยอมรับfood บางครั้งพบว่า ปลาไม่ยอมรับfoodที่ไม่เคยกินมาก่อน จึงจำเป็นต้องฝึกให้กิน
โดยอาจต้องให้ปลาอดfood 1 - 2 วัน และลองให้กินfoodใหม่อีกครั้ง แล้วสังเกตว่าปลายอมกิน
foodหรือไม่
+ การเลือกชนิดและปริมาณของfood ควรต้องคำนึงถึงระบบการเปลี่ยนถ่ายน้ำในบ่อเลี้ยง
+ foodเร่งสี สีของตัวปลาเกิดจากการทำงานของเซลล์ผิวหนังซึ่งมีเม็ดสีอยู่ภายใน เม็ดสีที่อยู่ใน
ชั้นของผิวหนังสีแดงหรือสีเหลืองของปลาทองเป็นสีของคาร์โรทินอยล์ชนิดแอสทาแซนธิน
(Astaxanthin) คือถ้าในเซลล์ผิวหนังมีคาร์โรทินอยล์มากเท่าไร ย่อมทำให้ปลามีสีสดขึ้น
ดังนั้นในปัจจุบันจะมีการใช้สารเร่งสี (แอสทาแซนธิน) ให้ปลากินเพื่อให้ปลามีลำตัวสีแดง และ
มีการใช้สไปรูไรน่า (Spirulina) ผสมกับfoodเลี้ยงปลาเพื่อเพิ่มความเข้มของสีแดง ส้ม หรือสี
เหลือง ในตัวปลา ปกติfoodสำเร็จรูปส่วนมากจะมีสไปรูไรน่าผสมอยู่ในอัตราส่วนไม่เกิน 10เปอร์เซน
foodที่ผสมสารเร่งสีจะใช้เลี้ยงปลาที่มีอายุประมาณ 3 สัปดาห์ โดยให้กินในมื้อเช้า ส่วนมื้อเย็น
จะให้กินfoodมีชีวิต ในกรณีที่การเลี้ยงปลาทองในบริเวณที่มีแสงแดดเพียงพอไม่จำเป็นต้องให้
foodเร่งสี



บ่อหรือภาชนะที่ใช้ในการเลี้ยงปลาทอง
ตู้ปลาปลาทอง ในกรณีที่มีตู้ปลาปลาทองเก่า อาจใช้สำหรับอนุบาลลูกปลา เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์หรือเพาะพันธุ์ได้ แต่ถ้า
เป็นการลงทุนใหม่ไม่ควรซื้อตู้ปลาปลาทองเพราะต้นทุนสูง
อ่างซีเมนต์ เป็นอ่างซีเมนต์ขนาดเล็ก อาจซื้อสำเร็จรูปหรือทำขึ้นเอง เป็นอ่างสี่เหลี่ยมขนาด
ประมาณ60 x 80 cm และมีความลึกประมาณ 20 - 25 cm หรือเป็นบ่อซีเมนต์
กลมเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 80 -120 cm และมีระดับความลึกประมาณ 25 - 30
cm เหมาะสำหรับอนุบาลลูกปลาหรือนำมาใช้เลี้ยงปลา ที่คัดขนาดแล้วหรือจะใช้เพาะพันธุ์
ก็ได้
บ่อซีเมนต์ โดยปกติจะนิยมสร้างให้มีขนาดกว้าง x ยาว เท่ากับ 2 x 2 หรือ 2 x 3 เมตรบ่อ
ชนิดนี้เหมาะสำหรับการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ เพาะพันธ ุ์ และเลี้ยงลูกปลาได้ทุกขนาดบ่อซีเมนต์ทุก
ประเภทก่อนที่จะนำมาใช้ต้องมีการสร้างทำความสะอาดแช่น้ำไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ แล้วถ่าย
น้ำทิ้งเพื่อล้างและกำจัดปูนซีเมนต์ออกให้หมด
การสร้างบ่อปลาต้องคำนึงถึงระบบการกำจัดของเสียเป็นสำคัญ โดยการสร้างให้มีความ
ลาดเอียง เพื่อให้ของเสียและตะกอนไหลมารวมกันในพื้นที่ที่เป็นที่ต่ำ และสร้างท่อระบายน้ำออก
ตรงบริเวณนั้น โดยมีตะแกรงครอบบริเวณฝาท่ออีกที เมื่อถ่ายน้ำก็ดึงฝาครอบท่อออก ของเสียและ
ตะกอนต่าง ๆ จะไหลปนไปกับน้ำ ซึ่งมีตะแกรงทำหน้าที่ป้องกันลูกปลาไหลออกมาเวลาระบายน้ำ
ถ้าเป็นบ่อขนาดเล็กนิยมที่สร้างท่อระบายน้ำออกไว้ตรงกลาง แต่ถ้าเป็นบ่อขนาดใหญ่จะสร้างไว้
บริเวณด้านข้างเพื่อความสะดวกในการเปิดปิดท่อระบายออกเวลาเปลี่ยนถ่ายน้ำ วิธีการสร้างบ่อ
ลักษณะนี้ จะทำให้ประหยัดแรงงานและปริมาณน้ำมากกว่าการสร้างบ่อที่ไม่มีความลาดเอียงและ
ไม่มีท่อระบายน้ำออก
นอกจากบ่อและภาชนะรูปแบบต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วอาจสร้างบ่อหรืออ่างในรูปแบบอื่น ๆ ก็ได้
เพื่อเป็นการประหยัดต้นทุน เช่น ทำจากผ้าใบโดยมีโครงไม้โครงเหล็ก หรือปูแผ่นพลาสติกบนบ่อ
ที่ยกขอบด้วยอิฐบล๊อก เป็นต้น

แค่นี้ก็เสร็จสิ้นสำหรับการสร้างที่สำหรับการเลี้ยงปลาทอง

บทความที่ใหม่กว่า บทความที่เก่ากว่า หน้าแรก