โรคปลาทอง
การเลี้ยงปลาทองให้มีคุณภาพที่ดีจำเป็นต้องมีการดูแลเอาใจใส่ที่ดี แต่ในบางครั้งเมื่อสภาพอากาศ
เกิดการเปลี่ยนไปโดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน ซึ่งพบว่าต้นฤดูฝนปลาที่เลี้ยงไว้ที่กลางแจ้งมักจะเกิดการ
ล้มป่วยและตายโดยไม่รู้สาเหตุ ทั้งนี้เป็นเพราะก่อนฝนตกอากาศจะร้อนอบอ้าว แต่พอฝนตกลงมา
อากาศก็เย็นลงอย่างรวดเร็ว ประกอบกับคุณสมบัติของน้ำก็เปลี่ยนไปอีกด้วยทำให้ปลาปรับสภาพไม่ทัน
จึงมักเกิดการล้มป่วย
สาเหตุของโรค
+ น้ำ ถ้าปล่อยให้น้ำเสียโดยไม่เปลี่ยนถ่ายน้ำ อาหารตกค้างมาก ค่าความถ่วงจำเพาะของน้ำมากกว่า 1
นั้นหมายความว่า มีสารละลายปนอยู่ ทำให้ปลาหายใจลำบากอาจเกิดโรคได้ เนื่องจาก pH ของน้ำ
เปลี่ยนไป น้ำฝนที่ตกลงมาใหม่ก็เป็นสาเหตุทำให้ pH เปลี่ยนไป เช่นกัน
+ อุณหภูมิและระดับออกซิเจนในน้ำ ถ้าเกิดการเปลี่ยนไปอุณหภูมิของน้ำที่ปลาอาศัยอยู่อย่างรวดเร็ว
(เกิดความแตกต่างของอุณหภูมิเกิน 5 c ในเวลาสั้น) ปริมาณออกซิเจนในน้ำลดลง ส่งผล
ให้ปลาอ่อนเพลียภูมิคุ้มกันของปลาลดลง
+ ก๊าซต่าง ๆ เกิดจากการหมักหมมของอาหารและสิ่งที่ปลาขับถ่ายออกมา เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
และแอมโมเนียที่เป็นพิษต่อปลา
+ พาหะนำเชื้อโรค ลูกน้ำ หนอนแดง ไรแดง อาจนำเชื้อโรคและปรสิตบางตัวมาสู่ปลา เช่น หนอนสมอ
โรคจุดขาว
+ การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ร่วมกับปลาที่เป็นโรค จะเป็นสาเหตุให้เกิดโรคได้ ควรมีบ่อเฉพาะสำหรับ
รักษาโรคและแยกอุปกรณ์ไว้ต่างหาก
วิธีการสังเกตปลาป่วย
ในขณะที่ปลาป่วย ปลาจะมีลักษณะและอาการว่ายน้ำผิดปกติ ซึ่งสามารถสังเกตได้ดังนี้
+ ลักษณะการเคลื่อนไหวของปลาที่เป็นโรคจะผิดปกติ มีอาการเซื่องซึม อาจว่ายน้ำเสียดสีหรือถู
กับก้นบ่อว่ายมาออกันที่ผิวน้ำ โดยเฉพาะปลาที่มีปรสิตเกาะ
+ ปลาที่เป็นโรค ขณะว่ายน้ำจะไม่กางครีบออกครีบอาจจะกร่อนแหว่งหายไป
+ เหงือกบวมแดงเห็นชัดเจน เนื่องจากหายใจไม่สะดวก พยายามเปิดปิดเหงือกมากที่สุด
เหงือกอาจบวมจนถึงกระดูกเหงือก
+ มีเลือกออกตามเกล็ด หรือมีบาดแผลตามตัว
+ ปลาที่เป็นโรคจะมีสีซีดกว่าปกติ
+ ปลาขับเมือกออกมามากผิดปกติ น้ำมีสีขาวขุ่นภาชนะที่ใช้เลี้ยงปลามีเมือกจับเต็มไปหมด
+ เกล็ดพองลุกชัน ท้องโต ทั้ง ๆ ที่ปลาไม่มีไข่เรียกว่าท้องมาร
+ ปลาผอมไม่ค่อยกินอาหาร โดยปกติปลาทองจะเป็นปลาที่กินอาหารเก่งและกินเกือบ
ตลอดเวลาไม่ค่อยหยุดถ้าปลาไม่ยอมกินอาหารแสดงว่าปลาอาจป่วย แต่ถ้าช่วงอากาศหนาว
หรืออากาศค่อนข้างเย็น ปลาจะไม่กินอาหารถือว่าเป็นเรื่องปกติ
+ ปลาเสียการทรงตัวเกิดจากถุงลมผิดปกติ อาจว่ายน้ำหมุนควงหรือว่ายน้ำแบบบังคับทิศทางไม่ได้
ป้ายกำกับ: การเลี้ยงปลาทอง, ปลาทอง, ปลาสวยงาม
บทความใหม่กว่า บทความที่เก่ากว่า หน้าแรก
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น